2011年7月11日星期一

ม่อเกาคู' พุทธศิลป์ชิ้นเลิศที่ตุนหวง





ถ้ำผาม่อเกา (จีน: 莫高窟; พินอิน: mò gāo kū, ม่อเกาคู) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองตุนหวง มณฑลกานสู้ ประเทศจีน ในอดีตเป็นหนึ่งในจุดค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สำคัญในเส้นทางสายไหม ภายในถ้ำงดงามด้วยพุทธศิลป์จีนทั้งพระพุทธรูป และจิตรกรรมฝาผนังที่มีอายุกว่า 1,000 ปี  ถ้ำผาม่อเกาได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่11เมื่อปีพ.ศ.2530ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้




  • ๑ -เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์





  • ๒ - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม





  • ๓ - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว





  • ๔ -เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ





  • ๕-เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา





  • ๖-มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์




  • ถ้ำผาม่อเกา พร้อมด้วยถ้ำผาหลงเหมิน และถ้ำผาหยุนกัง เป็นที่ที่รู้จักกันดีในจีนในฐานะเป็นแหล่งที่มีปฏิมากรรมโบราณอันงดงาม


    รัชสมัยกวงสูปีที่ 26 (ค.ศ. 1900) นักพรตเต๋านาม หวังหยวนจ้วน ค้นพบถ้ำลึกลับที่เก็บซ่อนคัมภีร์ทางศาสนาโดยไม่ตั้งใจ ภายในถ้ำยังเป็นที่เก็บรักษาจดหมายเหตุบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ในสภาพสมบูรณ์ ที่จารึกด้วยอักษรฮั่น และอักษรพื้นเมืองโบราณของชนเผ่าในทะเลทราย อาทิ อักษรหุย ทิเบต ถู่ฟาน(บรรพบุรุษของชาวทิเบต) ลี่เท่อ และอักษรชีว์หลู และโบราณวัตถุอื่นๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 50,000 ชิ้น ถ้ำแห่งนี้อยู่ในบริเวณถ้ำผาหินสลัก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนรัชสมัยคังซี แห่งราชวงศ์ชิงว่า ‘ถ้ำผาม่อเกาคู’ การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ ทำให้ถ้ำผาร้างอันโดดเดี่ยวแห่งเนินทรายหมิงซาซัน กลายเป็นอัญมณีน้ำงามสุดประมาณค่าบนยอดมงกุฎมังกร

    ความงามย่อมเป็นที่หมายปอง พลันเมื่อข่าวการค้นพบแพร่กระจายออกไป มืออำมหิตจากทุกสารทิศ ทั้งจากแผ่นดินและเกาะทางตะวันตก โลกใหม่ ไซบีเรีย แดนอาทิตย์อุทัย หรือแม้แต่เขตแคว้นทั่วแผ่นดินจีน ต่างยื่นยาวเข้ามาฉกฉวย และพรากเอา ‘อัญมณี’ ไปจากถ้ำผาแห่งนี้ กว่าที่รัฐบาลจีนจะเริ่มตั้งทีมวิจัยศึกษา สืบค้น และวางแผนการอนุรักษ์ถ้ำผาม่อเกาคู ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ก็ล่วงเลยเข้าสู่ปีค.ศ. 1943 และหลังจากนั้นอีก 44 ปี ชาวโลกจึงเข้ามายกฐานะและบทบาทของถ้ำผาม่อเกาคู ขึ้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก


                                                                   
    คูหาหมายเลข 96 โบราณสถานหลักของถ้ำผาม่อเกาคู

                        

    รูปปั้นสลักเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์ สุดยอดความงามแบบศิลปะตุนหวง

        

    ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำในคูหาหมายเลข 285 เป็นภาพบรรดาเทพและนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ ศิลปะปลายสมัยราชวงศ์เหนือใต้

          ความงามย่อมเป็นที่หมายปอง พลันเมื่อข่าวการค้นพบแพร่กระจายออกไป มืออำมหิตจากทุกสารทิศ ทั้งจากแผ่นดินและเกาะทางตะวันตก โลกใหม่ ไซบีเรีย แดนอาทิตย์อุทัย หรือแม้แต่เขตแคว้นทั่วแผ่นดินจีน ต่างยื่นยาวเข้ามาฉกฉวย และพรากเอา ‘อัญมณี’ ไปจากถ้ำผาแห่งนี้ กว่าที่รัฐบาลจีนจะเริ่มตั้งทีมวิจัยศึกษา สืบค้น และวางแผนการอนุรักษ์ถ้ำผาม่อเกาคู ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ก็ล่วงเลยเข้าสู่ปีค.ศ. 1943 และหลังจากนั้นอีก 44 ปี ชาวโลกจึงเข้ามายกฐานะและบทบาทของถ้ำผาม่อเกาคู ขึ้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก

          

    บ่อน้ำเย่ว์หยาเฉวียน จุดท่องเที่ยวลือชื่อของเมืองตุนหวง

       

    ภาพเขียนลีลานางฟ้าแบบฉบับของศิลปะตุนหวง
           
       


    รูปปั้นสลักเขียนสี งานศิลปะที่ขึ้นชื่อของถ้ำผาม่อเกาคู (ซ้าย-รูปปั้นพระโพธิสัตว์ ในคูหาหมายเลข 438 ก่อนสมัยราชวงศ์สุย ขวา-รูปปั้นศิลปะสมัยถังยุครุ่งเรือง ในคูหาที่ 45
       

    ภาพนักดนตรีเล่นเครื่องคนตรีชนิดต่างๆ ในยุคกลางของสมัยราชวงศ์ถัง อันทรงคุณค่าด้านคีตศิลป์โบราณของจีน      
                    
      

    ภาพจิตรกรรมฉากการรบในสงคราม บนผนังถ้ำม่อเกาคู หมายเลข 285 ศิลปะก่อนสมัยราชวงศ์สุย 

      

    รูปสลักเขียนสีต่างอารมณ์ของ พระสาวก พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าแห่งสวรรค์ ในคูหาที่ 45 สัญลักษณ์ของยุคทองแห่งศิลปะสมัยราชวงศ์ถัง


    ข้อมูลจาก
       http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=odyden&date=05-09-2007&group=3&gblog=18

    没有评论:

    发表评论