2011年8月10日星期三

วัดเจดีย์หลวง


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดใน  มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร  วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. ๑๙๓๔ วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ ๖๐ เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่



                              พระวิหารหลวง
   



ประวัติ

จุลศักราช ๒๘๙ (พ.ศ. ๑๘๗๔) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสนและต่อมาอีก ๔ ปีทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน คือวัดเจดีย์หลวงองค์ที่ ๑ ซึ่งอยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน สมัยพระเจ้าแสนเมืองมาซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากือนา ขณะที่มีพระชนมมายุ ๓๙ ปี พระองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จดีก็ทรงสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ ปีพ.ศ. ๒๐๕๕ พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง ๓ ชั้นได้เงิน ๒๕๔ กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน ๓๐ กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิมได้น้ำหนักทองคำถึง ๒,๓๘๒.๕๑๗ กิโลกรัม ประมาณ พ.ศ. ๒๐๘๘

สมัย”พระเจ้าติโลกราช” รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๙๘๕ - ๒๐๓๐ โปรดให้ “หมื่นด้ามพร้าคต” เป็นนายช่างใหญ่สร้างเสริมเจดีย์ใหม่ เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๒๐แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๕ โดยขยายฐานให้กว้างออกถึง ๕๖ เมตร สูง ๙๕ เมตร สามารถมองเห็นได้แต่ไกล



พระแก้วมรกตประดิษฐานที่มุขด้านตะวันออกของพระเจดีย์เป็นเวลานานถึง ๘๐ ปี ตั้งแต่พ.ศ. ๒๐๑๐ - ๒๐๙๑ ก่อนพระไชยเชษฐาธิราช จะอัญเชิญเสด็จสู่เมืองเชียงทอง หลวงพระบาง ต่อมาประดิษฐานที่นครเวียงจันท์ ก่อนเสด็จมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศสาดาราม กรุงเทพ




พระมหาเทวีจิระประภา รัชกาลที่ ๑๕ แห่งราชวงศ์มังราย พ.ศ. ๒๐๘๘ - ๒๐๘๙ ต่อมามีฝนตกหนัก และเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เป็นสาเหตุให้ส่วนยอดของเจดีย์หักพังเหลือเพียงครึ่งองค์
เกิดรอยร้าวที่องค์พระเจดีย์สุดที่จะแก้ไขได้ จึงถูกทิ้งร้างมานานถึง ๔๔๕



นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ


   เสาอินทขีล


เสาอินทขีลเดิมตั้งอยู่ในบรเวณพิ้นที่ซึ่งตำนานพื้นเมือเชียงใหม่เรียกว่า "สายดือเมือง" เมื่อพระเจ้ากาวิละย้ายออกจากเวียงป่าซางซึ่งอยู่นาน 14 ปี 4 เดือน 20 วันเข้าสู่นครเชียงใหม่ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 12ค่ำ ย้ายเข้าวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2339 เพื่อ "ส้างบ้านแปลงเมือง" นำเชียงใหม่สู่ ยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมือง ฟื้นอำนาจเชียงใหม่จนประสบชัยใน พ.ศ.2343 จึงเรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า "เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี" พร้อมก่อรูปกุมภัณฑ์รูป สุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล ที่วัดโชติอารามวิหาร




ในเดือนมิถุนายน 2533 ถึงเดือน ธันวาคม 2535 กรมศิลปากรได้ว่าจ้างบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด บูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวง ด้วยงบประมาณ 35 ล้านบาท รักษารูปทรงที่เหลืออยู่จากครั้งแผ่นดินไหว ให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยทำฐานกว้างด้านละ 60 เมตรและเสริมเติมส่วนที่มีร่องรอยเช่น ช้างทั้ง 8 เชือก รอบพระเจดีย์แต่ได้รับการวิจารณ์หนัก และปัจจุบันมีความพยายามให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้เต็มองค์โดยนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน ราวกับจะให้ร่องรอยพังทลายที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หมดสิ้นไป




                               พระอัฎฐารส
    
เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจาแทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่ม





  ขอบคุณอ้างอินจาก