2011年7月11日星期一

หลักฐานประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

 ในการศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้นๆ
หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้

1.หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี
ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่เหรียญกษาปณ์ ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ

2. หลักฐานของจีนราชวงศ์ต่างๆ
บันทึกของสุมาเจียน จูตากวน และหลักฐานของจีนที่ปรากฏในพงศาวดารภาคต่างๆ

3.หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า
หนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่อง
ตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติอพยพมาจากเหนือ) , จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย) , รัตนพิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) , สิหิงคนิทาน (เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่างๆ ในลานนาไทย) , จุลลยุทธกาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ตลอดสมัยอยุธยา) , ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย)

4. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก
ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัย ที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) , ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) , ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ) , จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) , จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์) , จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ

5. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดาร
5.1 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ
5.2 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ
5.2.1 ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) , ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย , ฉบับพระพันรัตน์ , ฉบับบริติชมิวเซียม
5.2.2 ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
5.2.3 ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา
5.3 พระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)
พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก
6. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศ
หลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติเข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ , บันทึกของบาดหลวงเดอ ชัว สี , จดหมายเหตุวันวิลิต , เอกสารฮอลันดา , ฯลฯ

ขอบพระคุณการอ้างอิงจาก:
เอกสารประกอบการสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัดทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น





没有评论:

发表评论