2011年7月16日星期六

อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยในระดับโลก


รายชื่ออุทยานประวัติศาสตร์ของไทยมีทั้ง 10 แห่ง ได้แก่

 อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันในประเทศไทยมีอุทยานประวัติศาสตร์ 10 แห่ง ซึ่งใน 10 แห่งนี้ มี 4 แห่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก

 
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกโลก 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 


กรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งที่ 2 ของไทยที่มีอายุยาวนานถึง 417 ปีเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชนชาติไทย โบราณสถานต่างๆ ที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นวัดมงคลบพิตร พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ เพนียดคล้องช้าง ล้วนเป็นหลักฐานทางอารยธรรมซึ่งแสดงถึงระยะเวลาอันสงบสุข และเป็นปึกแผ่นที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อำนาจทางการเมืองอันมั่นคงและซับซ้อน ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก อาทิ ปอร์ตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งเรืองและมั่นคั่งของอาณาจักรอยุธยาได้เป็นอย่างดีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา



1 ที่ตั้ง

 

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตรกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 3,000 ไร่

2 ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893 นั้น นักวิชาการ เชื่อกันว่า บริเวณดังกล่าวได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้วเรียกว่า เมืองอโยธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกนอกเกาะเมืองอยุธยา ปรากฏหลักฐานโบราณสถานที่เป็นวัดสำคัญ เช่น วัดมเหยงค์ และวัดอโยธยา เป็นต้น รวมทั้งจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ กล่าวถึงการก่อสร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า พระเจ้าพนัญเชิง พระประธานของวัดพนัญเชิง ที่ระบุว่า สร้างขึ้นก่อนที่ พระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยา ถึง 26 ปี    ด้วยทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีลักษณะเป็นเกาะเมืองมีแม่น้ำที่สำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน รวมทั้งเป็นชุมทางคมนาคม และเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรู กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นราชธานีใหญ่สามารถกุมอำนาจเหนือเมืองใกล้เคียงเป็นเวลานาน กรุงศรีอยุธยาเติบโตเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญของภูมิภาค เอเซีย ในพุทธศตวรรษที่ 20-23 มีชาวต่างชาติทั้งจากเอเซียและยุโรป เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เดินเรือเข้ามาค้าขาย ซึ่งส่วนมากมีสัมพันธ์ทางการทูตด้วย บ้างก็ได้รับพระราชทานที่ดินตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ตั้งสถานีการค้า และศาสนสถาน หมู่บ้านส่วนใหญ่ของชาวต่างประเทศจะอยู่นอกตัวเมืองมีเฉพาะชาวจีน แขกฮินดู และมุสลิมเพียงบางกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชสำนักเท่านั้น ที่ได้รับพระราชานุญาตให้สร้างบ้านเรือนอยู่ภายในเมืองนอกจากนี้ กรุงศรีอยุธยายังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านการปกครอง กฎหมายการศาล ระบบสังคม การศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์ ภาษาวรรณกรรม และนาฏดุริยางค์ศิลป์ศิลปะ วิทยาการ ทุกแขนงที่คนไทยในอาณาจักรอยุธยาสั่งสมไว้นั้น เป็นอารยธรรมที่ กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ยึดถือเป็นแบบแผน สืบทอดและพัฒนาเป็นอารยธรรมตามยุคสมัย หลายอย่างยังคงใช้สืบต่อมาตราบจนทุกวันนี้


3 โบราณสถานสำคัญ

ด้วยเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทั้งเกาะเมืองมีพื้นที่ประมาณ 4,800 ไร่ ลักษณะของเกาะเมืองเป็นไปตามสภาพของแม่น้ำที่กัดเซาะแผ่นดินมีรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งมีผู้สันนิษฐานว่า มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า  แต่เดิมกำแพงเมืองเป็นคันดินและมีเสาไม้ระเนียด ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นกำแพงอิฐในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. 2091-2111) และถูกทำลายในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 รวมทั้งมีการรื้อถอนกำแพงเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อนำอิฐมาใช้ในการก่อสร้างที่กรุงเทพฯ และป้องกันไม่ให้มีการใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่ซ่องสุมผู้คนอีกต่อไปกรุงศรีอยุธยาเป็นลักษณะของเมืองน้ำ มีการออกแบบแนวคูคลองที่ทั้งใช้ประโยชน์ในการคมนาคม และเป็นการระบายน้ำในหน้าน้ำหลากด้วย ทำให้ผังเมืองอยุธยามีแม่น้ำลำคลองจำนวนมากเป็นเครือข่ายโยงใยกันทั้งนอกเมืองและในเมืองขนานไปกับแนวคูคลองคือ ถนนที่เป็นทั้งถนนดินและถนน ปูอิฐ โดยมีสะพานสร้างข้ามคลองทั้งสะพานไม้และสะพานก่ออิฐมากกว่า 30 แห่ง โบราณสถานเท่าที่สำรวจพบแล้วทั้งภายในเมืองและนอ กำแพงเมืองมีมากกว่า 425 แห่ง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะโบราณสถานที่สำคัญและอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 1,810 ไร่ ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ใจกลางเกาะเมืองและพื้นที่ด้านทิศเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมือง มีโบราณสถานที่สำรวจพบแล้วทั้งสิ้น 95 แห่ง ดังนี้
3.1 พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง

พระราชวังโบราณ เป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1893-1912) ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์
 

3.2 วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดสมัยอยุธยา เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จ




พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 โปรดให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบ พิธีต่าง ๆ

3.3 วัดราชบูรณะ เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

โปรดให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1967 ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ

3.4 วิหารพระมงคลบพิตร



พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อพ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะวิหาร พระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบันนอกจากนี้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังมีโบราณสถานที่สำคัญแห่งอื่นอีก เช่น วัดพระราม วัดญาณเสน วัดธรรมิกราช วัดวรโพธิ์ วัดวรเชษฐาราม เป็นต้นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่นจนได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีมรดกโลก จากการประชุม ณ กรุงคาร์เรจ ประเทศตูนิเซีย ในปี พ.ศ.2536 ด้วยหลักเกณฑ์ที่ว่า เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยาน หลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว

4 การบริการและการท่องเที่ยว



จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขาวเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรีไปจังหวัดปทุมธานี จากนั้นใช้เส้นทางปทุมธานี – สามโคก – เสนา ทางหลวงหมายเลข 311 เลี้ยวขวาที่อำเภอ เสนา ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใช้เส้นทาง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาทางรถไฟ ใช้ขบวนที่เดินทางสู่ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอ พระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางเรือ ปัจจุบันการเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยทางน้ำ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นถึงประวัติศาตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติโดยทางเรือบนแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้

๒ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย  จังหวัดสุโขทัย เป็นมรดกโลก12 ธันวาคม พ.ศ. 2534





สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภายในกำแพงเมือง




เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธานล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง4และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้าน ไต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย




พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริยราชวงศ์พระร่วงได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อันมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๐ และได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีก ๕ พระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พญาเลอไทย พญาลิไทย พญาไสลือไทย จนถึงปี พ.ศ. ๑๙๒๑ จากนั้นกรุงสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีอยุธยา กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงอีก ๒ พระองค์ จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าเมืองขึ้น



ภายในเมืองสุโขทัยประกอบด้วยส่วนที่เป็นพระราชวัง และศาสนสถานที่สำคัญ ๆ มีคูเมืองและกำแพงเมืองล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส นอกกำแพงเมืองออกไปโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่อีกเป็นจำนวนมาก รวมพื้นที่ที่ครอบคลุมโบราณสถานของเมืองสุโขทัยทั้งหมด มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไร่




บรรดาศิลปกรรมและสถาบัตยกรรมอันงามสง่าของเมืองสุโขทัย แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ อย่างไม่มีอาณาจักรใดในสุวรรณภูมิในยุคนั้นมาเทียบเทียมได้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่าของไทยที่มีค่าควรแก่ความภาคภูมิใจของชาวไทยและแก่มนุษยชาติ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตระหนักถึงคุณค่าดังกล่าว จึงได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็น "มรดกโลก" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕


พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอาราธนา พระภิกษุสงฆ์จากนครศรีธรรมราชเข้ามาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ในอาณาจักรสุโขทัย





ในสมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นประธานของพุทธสถาน ด้านหน้ามีวิหารโถง สร้างติดกันไว้เรียกว่าวิหารหลวง ลักษณะทางสถาบัตยกรรมของยุคนี้คือ รูปแบบของเจดีย์จะมียอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม

๓ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

จัวหวัดสุโขทัย เป็นมรดกโลก 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534

             
เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่า รุ่นราวคราวเดียวกับกรุงสุโขทัย มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยมตรงแก่งหลวง เดิมชื่อเมืองชะเลียง ซึ่งอยู่ใต้เมืองศรีสัชนาลัยลงไปเล็กน้อย บริเวณที่ตั้งวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ชื่อเมืองชะเลียงนี้ ปรากฎครั้งแรกในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชเมื่อปีพ.ศ.๑๘๓๕ สันนิษฐานว่าเมืองชะเลียงนี้มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงได้มาสร้างเมืองศรีสัชนาลัย ณ บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ในศิลาจารึกมักจะเรียกรวมกันว่าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัยเสื่อมลงประมาณปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ครั้นล่วงมาถึงปี พ.ศ. ๒๐๑๗ ชื่อเมืองนี้ก็ได้หายไปจากพงศาวดาร และในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เรียกเมืองนี้ว่าสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมือง ๓ ชั้น มีกำแพงล้อมรอบ ชั้นในสุดก่อด้วยศิลาแลง กำแพงชั้นกลางและชั้นนอกเป็นกำแพงดิน บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในกำแพงเมืองและนอกกำแพงเมือง    
                      


วัดพระศรีมหาธาตุ




วัดนี้ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระปรางค์ เนื่องจากมีพระปรางค์องค์ใหญ่สร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัย

เป็นวัดใหญ่และสำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นประดับรายล้อมอยู่โดยรอบมีทั้งหมด ๓๙ เชือก สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างวัดนี้ 
     
                    วัดเจดีย์เจ็ดแถว

อยู่ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม นับเป็นวัดใหญ่อีกวัดหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย มีกำแพงศิลาแลงล้อมอยู่โดยรอบ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด รอบเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์ใหญ่น้อยประดับซุ้มพระแบบต่างๆอีก ๓๓ องค์ เป็นภาพที่น่าชมอย่างยิ่ง 

๔ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นมรดกโลก 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534





 เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบัน ลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลอธรรมชาติ

                        

เขตภายในกําแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ มีโบราณสถานที่สําคัญคือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เขตวังโบราณ (สระมน) ศาลพระอิศวร กําแพงเมือง คูเมืองและป้อมประตูต่างๆ

เขตนอกกําแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม มีโบราณ สถานที่เป็นวัดขนาดใหญ่น้อยรวม 40 แห่ง วัดที่สําคัญ คือ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดสิงห์ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดกําแพงงาม วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ เป็นต้น กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร นับเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ เมืองกําแพงเพชร ด้วยโบราณสถานที่เป็นอรัญญิกหรืออรัญวาสีดังเช่นในอดีต





วัดพระแก้ว  

เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองเช่นเดียวกับวัมหาธาตุกรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา สิ่งก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตามแกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ถัดมาเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานมีสิงห์ล้อมรอบ วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามองค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบเอกสารตำนานโบราณกล่าวถึงพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ได้เคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งน่าจะประดิษฐานที่วักพระแก้วแห่งนี้
วัดพระธาตุ   

ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระแก้ว เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ก่อด้วยอิฐ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น องค์ระฆังค่อนข้างเล็กอันเป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นฐานวิหารศิลาแลงและมีเจดีย์รายอยู่บริเวณมุมด้านหน้าข้างวิหารข้างละองค์

วัดพระนอน



วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบเขตของวัดมีแนว กําแพงศิลาแลงล้อมรอบ ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำ ที่อาบน้ำและศาลา ความสําคัญของวัดนี้อยู่ที่วิหารพระนอน ซึ่ง เสาวิหารหลังนี้ทั้ง 12 ต้น ตัดจากศิลาแลงก่อนเดียวขนาดกว่าง 1 เมตรเศษ ยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักแต่ละต้น ประมาณ 30 ตัน



วัดช้างรอบ   เป็นวัดใหญ่อยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางฐาน ที่ฐานเจดีย์มีรูปช้าง ครึ่งตัวเห็นแต่สองขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบพระเจดีย์ จํานวน 68 เชือก วัดนี้มีกําแพงศิลาแลงอยู่ ศิลปะเป็นสมัยสุโขทัยตอนปลายหรืออยุธยาตอนต้น

วัดพระสี่อิริยาบถ


หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าวัดพระยืน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด กําแพงเป็นศิลาแลงปัก ตั้งล้อม 4 ด้าน มีพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปนอน พระพุทธรูปลีลา พระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปนั่ง โดยพระพุทธรูป 4 ด้านที่ยังเหลือสภาพค่อนข้างสมบูรณ์มีเฉพาะด้านทิศตะวันตกหรือพระยืน

๕ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย 
            

เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม
 

พลับพลา
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่างๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับและเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"
สะพานนาคราช

ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า

กำแพงชั้นนอก : 

สร้างด้วยหินทราย มีศิลาแลงแทรกเป็นบางส่วน ขนาดประมาณ 220 X 277.50 เมตร มีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน กำแพงชั้นนอก ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือยังมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร

ทางเดินเข้าสู่ปราสาท 

เป็นทางเดินที่สร้างดินหินทราย สูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีบันไดลงจากทางเดินสู่พื้นล่าง ที่มุมทั้งสี่และทั้งสองข้าง ของช่องกลางตลอดแนวทางเดินที่เชื่อมตัดกัน มีหลุมเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นระยะ ๆ จาการขุดแต่งบริเวณนี้ใน พ.ศ.2530 ได้พบเศษกระเบื้อง และบภลีดินเผา เป็นจำนวนมากสันนิษฐานได้ว่ายกพื้นทางเดินทั้งหมดนี้ มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา รองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว


บรรณาลัย 


 ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 25.50 X 26.50 เมตร จำนวน 2 หลัง อาคาร 2 หลังนี้จัดเป็นอาคารใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัด ถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆ ทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบัน ก็คงจะเทียบได้กับ “หอไตร” นั่นเอง แต่เมื่อพิจารณาสภาพภายในอาคารแล้ว ชวนให้สันนิษฐานว่า น่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาจเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ ์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อันเป็นศาสนาหลักของศาสนาสถานแห่งนี้ หรืออาจเป็นที่พักกระบวนเสด็จของกษัตริย์ หรือเจ้านายก็เป็นได้


                                                                               สรน้ำ
ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดไม่เท่ากัน และตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกัน นอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็น ที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งได้ย้ายออกไป สร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย) และวัดพระปรางค์น้อย จากการที่เรียกชื่ออุโบสถว่า โบสถ์เจ้าพิมาย ประกอบกับได้พบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธ มาสะสมกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่ คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เรียกว่า ก๊กเจ้าพิมาย สระน้ำทั้งหลาย จึงคงเป็นสระน้ำที่วัดเหล่านั้น ขุดขึ้นมาใช้ประจำวัดนั่นเอง
กำแพงชั้นใน 

สร้างด้วยหินทรายเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน กว้าง 2.35 เมตร ยาวจากเหนือ - ใต้ 72 เมตร จากตะวัน ออก - ตะวันตก 80 เมตร อยู่สูงจากพื้นดิน 1 เมตร ภายในเดินทะลุถึงกันได้ ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบ ทำเป็นหน้าต่างหลอด ประดับด้วยลูกมะหวด

ซุ้มประตูของกำแพงชั้นใน

สร้างด้วยหินทรายเช่นกัน มี 4 ประตู ลักษณะคล้ายซุ้มประตูกำแพงชั้นนอก แต่เล็กกว่า มีจารึกบนกรอบประตู ด้วยอักษรของโบราณ กล่าวถึงชื่อ กมรเตงชคตวิมาย” และการสร้างรูปเคารพชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย”ใน พ.ศ.1651 ทับหลังของซุ้มประตูส่วนใหญ่พังทลายลง ปัจจุบันได้นำบางส่วนเก็บไว้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ส่วนที่เหลือได้นำไปติดตั้ง ที่โบราณสถานแล้ว ภาพสลักทับหลังดังกล่าวเป็นศิลปะ แบบปาปวนนครวัด

ปรางค์ประธาน 

เป็นสถาปัตยกรรมหลัก และเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน คือ ทางทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนยอดปรางค์ หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วย กลีบขนุนปรางค์ และประติมากรรมหินทราย เป็นรูปสัตว์ และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว
หอพราหมณ์ 


สร้างด้วยหินทราย และมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธาน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหินผ้า ขนาด 6.50 X 17 เมตร มีมุกขื่นออกไปเป็นบันได้ และประตูเข้า - ออก ภายในอาคาร พบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณ์

ปรางค์หินแดง 

 ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไป 4 ทิศ ที่มุขแต่ละด้าน มี 1 ประตู จากการขุดแต่งพบว่า แท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่างแสดงว่า คงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้าง และคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์ เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน



๖ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

ประวัติ 
ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2478 แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1720 - 1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัยในสมัยรัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน รัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ แต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล
โบราณสถาน

ปราสาทเมืองสิงห์ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 - 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้



โบราณสถานหมายเลข 1

โบราณสถานหมายเลข1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วยสิงห์สำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20 ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออกยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ปรานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคดเป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุมโคปุระหรือซุ้มประตูเข้าเป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธานประตุบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก สันนิษฐานว่าบรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้วเป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร



โบราณสถานหมายเลข 2
โบราณสถานหมายเลข 2 ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย สถานที่ขุดพบเทวรูปโบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข1 และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตัวโบราณสถานตั้งอยู่บนฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 33.90 เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา


โบราณสถานหมายเลข 3
โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลงโบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเจดี 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐโดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง...ฐานเจดีอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน...ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมากจึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้



โบราณสถานหมายเลข 4

โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วนเรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ


หลุมขุดค้นทางโบราณคดี

หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้อยคอทำด้วยลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ซึ่งชี้ชัดว่าชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่ตายมา 2,000 ปีแล้ว คงจะยุคเดียวกับคนในชุมชนบ้านเก่า



๗ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี




อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี พระนครคีรี หรือ เขาวัง ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระเซง อำเภอเมืองเพชรบุรี นับเป็นสัญญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่ง ของจังหวัด เดิมเขานี้มีชื่อเรียกว่า "เขาสมณะ" หรือ "เขามหาสวรรค์" เนื่องจากมีวัดสมณะ วัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ตรงไหล่เขาด้านตะวันออก เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ได้เคยเสด็จมาประทับที่วัดนี้ และเสด็จขึ้นไปปฏิบัติ ภาวนาบนยอดเขาอยู่เสมอครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น เพื่อใช้เป็นที่แปรพระราชฐาน และพระราชทานนามว่า "พระราชวังพระนครคีรี" ตัวเขาประกอบ ด้วยยอดใหญ่ 3 ยอด ยอดทางทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของพระราชวัง และเรือนบริวาร ยอด ตรงกลางเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมเพชร ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน เป็นเจดีย์ เก่าที่ได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ และโปรดฯ ให้สร้างวัดประจำพระราชวังพระนครคีรีที่บนยอดเขา ตะวันออก และพระราชทานนามว่า วัดพระแก้ว อันประกอบด้วยอุโบสถ พระปรางแดง และ ศาลาขนาดย่อมเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ


พระนครคีรี หรือที่รู้จักกันในนาม "เขาวัง" นั้น แต่เดิมเรียกว่า "เขาสมณ" ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกสิ่งก่อสร้างต่างๆ บนยอดเขาทั้ง 3 นี้ว่า พระนครคีรี สร้างเสร็จในราวปี พ.ศ. 2402 โดยมีพระราชประสงค์ใช้เป็นสถานที่แปรพระราชถานในฤดูร้อน และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนา มีความสูง 95 เมตร จากระดับน้ำทะเล บนยอดเขาทั้ง 3 ยอดนี้ ประกอบไปด้วยพระที่นั่งต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ ทางยอดเขาตะวันตกมี พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา พระตำหนักสันถาคานสถาน หอพิมานเพชรมเหศวร หอจตุเวทปริตรพงษ์ และหอชัชวาลเวียงชัยซึ่งเป็นหอดูดาว สถาปัตยกรรมหลักเป็นแบบ "นีโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน" ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เช่นเครื่องลายคราม เครื่องสังคโลก และเครื่องใช้จากยุโรปและญี่ปุ่นสมัยก่อน


ยอดเขากลางเป็นที่ตั้งพระเจดีย์นามว่า "พระธาตุจอมเพชร" ซึ่งแต่เดิมเป็นเจดีย์บนยอดเขาที่ปรักหักพังมาก รัชกาลที่ 4 จึงทรงให้สร้างเจดีย์ใหญ่ครอบองค์เดิม ความสูงขององค์พระธาตุราว 40 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้สักกระบูชา ส่วนยอดเขาด้านตะวันออกทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นเรียกว่า "วัดพระแก้วน้อย" เพื่อจำลองวัดพระแก้วในพระบรมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร โบสถ์ของวัดพระแก้วน้อยและหมู่อาคาร เช่น พระปรางค์แดงและพระสุทธเสลเจดีย์ที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ถอดมาจากเจดีย์บนเกาะสีชังเพื่อนำมาประกอบขึ้นใหม่ที่นี่ และศิลปะปูนปั้นบนหน้าบันของพระอุโบสถยังเป็นอีกสิ่งที่น่าชมเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีศาลาเล็กๆ ทางเดินเชื่อมต่อกันระหว่างยอดเขาและหมู่อาคาร ภายใต้ร่มเงาของต้นลีลาวดีที่ออกดอกสีขาวและส่งกลิ่นหอมทั่วเขาวัง การเข้าชมโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี นอกจากจะได้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์แล้ว ผู้เข้าชมยังได้เห็นทัศนียภาพที่สวยงามของเนินเขาและตัวเมืองเพชรบุรีโดยรอบอีกด้วย

พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิค ผสมสถาปัตยกรรมจีน ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ ๆ 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้
ยอดเขาด้านทิศตะวันออกบริเวณไหล่เขาเป็นที่ตั้งของวัดมหาสมณาราม ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝีมือขรัวอินโข่งบนผนังทั้งสี่ด้าน เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา

ส่วนบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้ว  เป็นวัดประจำพระราชวังพระนครคีรี เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ภายในวัดพระแก้วประกอบด้วยพระอุโบสถขนาดเล็ก ประดับด้วยหินอ่อน

ด้านหลังเป็นพระพุทธเสลเจดีย์


ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นหอระฆังรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขนาดเล็ก

เขายอดกลางเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมเพชร มีความสูง40 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน จากจุดนี้สามารถมองเห็นพระที่นั่งต่าง ๆ บนยอดเขาอีก 2 ยอด รวมทั้งทิวทัศน์ของตัวเมืองเพชรบุรีได้อีกด้วย



ยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา หอชัชชวาลเวียงชัย หอพิมานเพชรมเหศวร ตำหนักสันถาคารสถาน หอจตุเวทปริตพจน์ ศาลาทัศนา-นักขัตฤกษ์




๘  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ  เพชรบูรณ์

เมืองเก่าศรีเทพ เดิมชื่อ "เมืองอภัยสาลี" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น" เมืองศรีเทพ" เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เมืองศรีเทพ เป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 2,889 ไร่ หรือ 4.7 ตรกม.. ภายในตัวเมืองศรีเทพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองส่วนใน มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กม. มีช่องทางเข้าออก 8 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำและหนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และมีโบราณสถานที่ขุดแต่งแล้ว และยังไม่ได้ขุดแต่งประมาณ 70 แห่ง เมืองส่วนนอก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน มีขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 7 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และมีโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกับเมืองส่วนใน


โบราณสถานและสถานที่สำคัญในอุทยานฯ ได้แก่
ศาลเจ้าพ่อศรีเทพอยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านขวามือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์(ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)


ปรางค์ศรีเทพเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย

สระแก้วสระขวัญสระแก้วจะอยู่นอกเมืองไปทิศเหนือ ส่วนสระขวัญจะอยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก สระน้ำทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี และเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการนำน้ำทั้งสองสระนี้ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยา ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

บราณสถานเขาคลังในเชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่างๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่นๆ เช่นนครปฐมโบราณเมืองคูบัว ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย

ปรางค์สองพี่น้องลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น 


นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผัง ในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย



นอกจากโบราณสถานดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทิศใต้ของเขาคลังในพบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง มีการพบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี




ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา แสดงให้เห็นว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดี และมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น

๙ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๓,๔๓๐ ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นสถานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ  พบหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า เมื่อหลายล้านปีมาแล้วภูพระบาทถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลาย เคลื่อนตัวลงตามแรงดึงดูดของโลก ก่อให้เกิดการกัดกร่อนอย่างขนานใหญ่ เกิดเป็นเพิงหิน โขดหิน รูปร่างแปลกๆ มากมาย ต่อมาประมาณ 2500-3000 ปีก่อนนี้ มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ขึ้นมาล่าสัตว์ และเก็บของป่าบนภูแห่งนี้ ได้วาดภาพคน สัตว์ ฝ่ามือ และรูปทรงเรขาคณิตด้วยสีแดง ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 คนสมัยนั้นได้ดัดแปลงเพิงหินทรายเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการปักใบเสมาหินทรายล้อมรอบเพิงหินทรายและแกะสลักรูปพระพุทธรูปและเทวรูป ซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกกระบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น

 พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๗๗ คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่ง ลึกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว ๑.๙๓ เมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

หอนางอุษา

 พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ในทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ใจกลางสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดและเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"


ถ้ำและเพิงหินต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกล ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง ถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่อาศัยของมนุษย์สมัยหิน และได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปเรขาคณิต นอกจากนั้น ยังมีลานหินต่าง ๆ คือ ลานหินโนนสาวเอ้ และเพิงหินที่สวยงาม ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา

กู่นางอุษา
คอกม้าท้าวบารส

คอกม้าน้อย
หีบศพท้าวบารส
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สภาพทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม ร่มรื่นน่าเดินพักผ่อน และเพลินเพลินกับจินตนาการของหินรูปร่างต่างๆ มีดอกไม้ป่าสีสันต่างๆให้ได้ดูกันอีกมากมาย

"ชายผ้าสีดา" มีมากมายตามต้นไม้ใหญ่ทั่วไป
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบริเวณภูพระบาทครอบคลุมพื้นที่ 3430 ไร่ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535



๑๐  อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่ในเขตตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโบราณสถานที่มีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เมื่อประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ ปีก่อน คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" ในภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย (ไส-วะ) มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ และในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานเทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาช่วงนั้น

ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาจนถึงปรางค์ประธานบนยอด เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) ๓ ชั้น ผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมี เสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ทางเดินนี้ทอดไปสู่ สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง ๑ หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม ๕ ชั้น สุดบันไดเป็นชานชาลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธาน ตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ ล้วนสลักลายประดับ ทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลาย และรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่า ปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้น และสะพานนาคราชสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ที่ลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้มีปรางค์ขนาดเล็ก ๑ องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่า ปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖


นอกจากนี้ ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางที่เรียกว่า โรงช้างเผือก




กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส คือ รื้อของเดิมลง มาโดย ทำรหัสไว้จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราชที่ 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธาน และปลายปีเดียวกัน ก็ได้รับทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีความงดงามและ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพนมรุ้ง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี